Powered By Blogger

วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สื่อโฆษณาที่ใช้

สื่อโฆษณาที่Toyotaใช้
  • TVC
  • Billboard
  • Magazine
  • Newspaper
  • Internet
  • Event
  • Radio

TVC





Billboard













Internet

http://www.toyota.com/



Print ad.





ข้อแนะนำการเป็นBrand ระดับโลก

การที่จะเป็นBrand ระดับโลกได้ไม่ใช่จะเป็นกันได้ง่ายๆหรอ จะต้องใช่เวลาและองค์ประกอบหลายๆอย่างที่ตัวBrandควรจะมีเช่น
  • คุณภาพของตัวผลิตภัณฑ์หรือการบริการ
  • การมีภาพลักษณ์ที่ดีในใจลูกค้าหรือผู้บริโภค
  • มีการพัฒนาตัวเองหรือตัวBrand อยู่ตลอดเวลา
  • มีการออกสื่อโฆษณาอย่างต่อเนื่อง
  • ในตัวBrandหรือสินค้าควรมีจุดเด่นที่แตกต่างกว่าและลอกเลียนแบบยาก
  • ทำตัวBrandดูมีคุณค่า
  • การออกแบบสินค้า
  • การตั้งชื่อ
  • หาจุดขายที่เหมาะสม
  • กำหนด Brand Positioning
  • กลยุทธ์ข่องทางการจัดจำหน่าย
  • การสร้างบุคลิกภาพให้กับสินค้าหรือBrand
  • การสื่อสารทางการตลาดเพื่อให้สอดคล้องกับตำแหน่งของสินค้าและถูกใจกลุ่มเป้าหมาย

สาเหตุทีทำให้ Toyota เป็นbrand ระดับโลก

เหตุผลที่Toyotaเป็นbrandระดับโลกมาจากตัวผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพ มีเอกลักษณ์ มีการทำการตลาดที่ดีและเป็นที่รู้จักมายาวนานถึง มาเป็นเวลายาวนานกว่า 71 ปี ทำให้brand Toyotaเป็นที่ยอมรับในระดับโลก

นโยบาย

นโยบายToyota
  • ปรับปรุง เพื่อสิ่งที่ดียิ่งกว่า (ต่อลูกค้า)
  • ปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ที่ดี (ระบบ worldwide ลดแรงเสียดทาน และต่อต้าน)

นโยบายปัจจุบัน

technology, manufacturing, and social contribution

กลยุทธ์ของ Toyota

กรณีบริษัท Toyota ที่ประยุกต์ใช้ทั้งกลยุทธ์ความรวดเร็ว และกลยุทธ์ความยืดหยุ่นซึ่งเป็นการ บูรณาการกลยุทธ์ทั้งสองเข้าด้วยกันอย่างลงตัว เป็นการสร้างให้เกิดความสามารถในการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น บริษัทรถยนต์ Toyota เมื่อ 50 ปีก่อนน้อยคนนักที่จะเคยได้ยินชื่อ Toyota หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศญี่ปุ่นจำเป็นต้องพัฒนาตนเองอย่างมาก เพราะเป็นผู้แพ้สงคราม Toyota เป็นบริษัทหนึ่งของญี่ปุ่นที่ส่งออกรถยนต์ไปขายในประเทศอเมริกา ในขณะนั้นประเทศอเมริกามีบริษัทรถยนต์ของตัวเองที่มีชื่อเสียงมากเช่น GM Ford และ Chrysler อีกทั้งยังมีรถยนต์นำเข้าจากยุโรป เช่น BMW Benz Renault รถยนต์เหล่านี้ส่วนใหญ่มีขนาดความจุของเครื่องยนต์สูงมีจำนวน 6-8 สูบ ในขณะที่ Toyota นำเอารถยนต์ 4 สูบซึ่งมีขนาดเล็กเข้าไปจำหน่ายในตลาดอเมริกา ลูกค้าอเมริกันส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญแม้แต่น้อย ต่างมองกันว่ารถยนต์ของ Toyota เป็นเพียงแค่รถเด็กเล่นในขณะนั้น แต่กระนั้น Toyota ไม่ยอมละความพยายามและความอดทน ยังยึดมั่นอยู่กับการพัฒนาตัวเองตลอดเวลา โดยทำการศึกษา คู่แข่งขันอย่างละเอียดถึงจุดอ่อน จุดแข็ง และโอกาส รวมทั้งอุปสรรคต่างๆ โดยมีการเปรียบเทียบตัวเองกับบริษัทคู่แข่ง จากการศึกษาทำให้ Toyota พบจุดอ่อนที่สำคัญของบริษัทรถยนต์ที่เป็นคู่แข่ง โดยพบว่าการออกรถยนต์รุ่นใหม่ไม่มีความสมดุลลงตัวกับความต้องการของลูกค้าชาวอเมริกันในการซื้อรถยนต์ใหม่ เพราะเบื่อที่จะขับรุ่นยนต์รุ่นเก่าเป็นเวลานานเกินไป Toyota จึงใช้กลยุทธ์ความรวดเร็วเป็นแกนหลัก เมื่อพบว่าการเปลี่ยนรุ่นของกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ของอเมริกาจะใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมาณเจ็ดถึงแปดปี ในขณะที่ค่ายรถยนต์จากยุโรปมีระยะเวลาในการเปลี่ยนรุ่นของรถที่ระยะเวลาประมาณแปดปี Toyota จึงกำหนดการเปลี่ยนแปลงรุ่นของรถยนต์ทุกๆ ห้าปี และลดเหลือสี่ปี ทำให้ในขณะนั้นในท้องถนนมีแต่รถรุ่นเก่าของ GM, Ford, Benz อื่น ๆ วิ่งอยู่ทั่วไป ในขณะที่ Toyota กลับมีรถรุ่นใหม่ที่ทันสมัย มีสีสันสดสวย รูปร่างโฉบเฉี่ยว และมีพลังของเครื่องยนต์สูงแต่สามารรถประหยัดน้ำมันได้มากกว่า โดยออกแบบให้เครื่องยนต์มีความจุของกระบอบสูบที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของชาวอเมริกันซึ่งในขณะนั้นมีเศรษฐกิจที่ดีมาก ด้วยนิสัยเบื่อง่ายทำให้คนอเมริกันเริ่มหันเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ Toyota มากขึ้น จึงพบกับความจริงว่ามิใช่เพียงแต่สินค้าเท่านั้นที่มีการพัฒนา การบริการก็ได้รับการพัฒนาเช่นกัน เพราะ Toyota ได้สร้างมาตรฐานการให้บริการที่ดีเยี่ยม ซึ่งได้สร้างความประทับใจแก่ลูกค้าอย่างมากเป็นผลให้ชาวอเมริกันยอมรับในตัวของ Toyota มากขึ้น ในขณะที่ Toyota มีการเติบโตมากขึ้น แทนที่บริษัท GM Ford Chrysler BMW และ Benz จะตอบสนองต่อการแข่งขันแต่กลับนิ่งเฉย โดยมีสมมติฐานว่าในกรณีที่ Toyota มีแผนในการเปลี่ยนแปลงรุ่นของรถยนต์เร็วมากขึ้นเท่าไร สิ่งที่จะเพิ่มมากขึ้นตามมาคือ ต้นทุนที่จะต้องเพิ่มขึ้นจากการปรับเปลี่ยนสายการผลิต การปรับพื้นที่โรงงานผลิต และการจัดการกับสินค้า และอะไหล่คงคลัง ฯลฯ ซึ่งในที่สุดแล้วราคาขายจะต้องปรับตัวสูงมากขึ้นจนกระทั่งลูกค้ายอมรับไม่ได้ และจะประสบกับการขาดทุนในที่สุด แต่เหตุการณ์กลับไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ เพราะ Toyota ได้นำเอากลยุทธ์ยืดหยุ่นมาบูรณาการใช้ประกอบกับกลยุทธ์ความรวดเร็ว โดยออกแบบโรงงานผลิต และระบบสายพานประกอบรถยนต์ให้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นเรียกว่า "Flexible Manufacturing System" ที่สามารถปรับสายการผลิตได้ใหม่โดยไม่ต้องรื้อถอน ในการประกอบรถยนต์โดยเฉพาะส่วนของตัวถังมีการประยุกต์นำเอาหุ่นยนต์มาใช้ทำงานมากขึ้น โดยสามารถควบคุมด้วยโปรแกรมที่สามารถปรับเปลี่ยนให้สามารถผลิตรถยนต์รุ่นต่างๆได้เพียงแค่เปลี่ยน Softwareเท่านั้น ทำให้สามารถควบคุมต้นทุนในการเปลี่ยนรุ่นแต่ละครั้งได้ ผลก็คือ การผลิตโดยรวมมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยิ่งกว่านั้นเมื่อมีความต้องการจากลูกค้าจำนวนมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิด Economies of Scale ที่ทำให้ Toyota มีต้นทุนในการผลิตลดลงจากจำนวนการผลิตที่มากขึ้น ทำให้ราคาขายของ รถยนต์ Toyota สามารถแข่งขันได้สูงมากยิ่งขึ้นในตลาดเมื่อเทียบกับรถยนต์ของคู่แข่งในขนาดและปริมาตรกระบอกสูบเท่ากันจากความชาญฉลาดในการดำเนินธุรกิจของ Toyota ส่งผลทำให้บริษัทรถยนต์ขนาดใหญ่ของอเมริกาต้องเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับบริษัทรถยนต์ที่ครั้งหนึ่งเป็นเพียงแค่รถเด็กเล่นในสายตาของตัวเอง ส่งผลให้ผู้ผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่ต้องปิดโรงงานผลิตจำนวนมาก ซึ่งทำให้บริษัทผลิตรถยนต์ทั่วโลกเริ่มหันกลับมาให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจตามแนวคิดใหม่อย่างจริงจังมากขึ้น
โดยสรุปพบว่า กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันนั้นเป็นวิทยาการ การจัดการธุรกิจที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการก้าวเข้าสู่การแข่งขันขององค์การธุรกิจ ทั้งนี้การปรับปรุงและพัฒนากลยุทธ์ให้ทันต่อเหตุการณ์ และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ต้องกระทำตลอดเวลาเพื่อรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันนั้นไว้

การตลาดToyota หรือ 4P's

Product - ตัวสินค้าคือรถยนต์ยี่ห้อ TOYOTA เป็นรถยนต์ที่มีราคาไม่สูงมากนัก เพียบพร้อมทั้งการออกแบบที่สวยงามกว่ารุ่นก่อนๆที่เคยได้ผลิตออกมา และด้วยตราสินค้าที่มีมานานแล้วจะทำให้ความน่าเชื่อถือของสินค้ามีมากตามไปด้วย การออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวสินค้าสร้างการจดจำได้ง่ายขึ้น ในขณะนี้สินค้าอยู่ในช่วงของ Maturity Stage ใน Product Life Cycle อยู่ ถึงจะเป็นสินค้าที่เป็นที่รู้จักดีอยู่แล้ว แต่ในปัจจุบันนี้ตลาดรถยนต์มีการแข่งขันกันมาก เลยทำให้ต้องมีการใช้โฆษณาช่วยในการสร้างภาพลักษณ์และการจดจำอย่างต่อเนื่อง สำหรับกลุ่มลูกค้านั้นเป็นกลุ่มคนวัยพึ่งเริ่มทำงาน
ประสิทธิภาพ - สำหรับสินค้าชิ้นนี้มีประสิทธิภาพในการใช้งานค่อนข้างเหมาะสมกับราคาที่ไม่สูงมากนัก และถ้านำมาเปรียบเทียบกับรถยนต์รุ่นเล็กของยี่ห้ออื่นๆ ประสิทธิภาพก็ไม่ต่างกันมากนัก
ความทนทาน - ด้วยตัวสินค้านั้นเป็นรถยนต์ที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น ในเรื่องของความแข็งของตัวรถนั้น คงไม่สามารถเปรียบเทียบกับรถที่ผลิตจากแทบยุโรปได้ แต่งถึงตัวรถจะไม่แข็งแรงมากนัก แต่ระบบรักษาความปลอดภัยภายในรถก็ยังคอยสนับสนุนลูกค้าได้อย่างดี และเมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์รุ่นเล็กในยี่ห้ออื่น ในเรื่องความทนทานของอะไหล่หรือตัวรถนั้นก็ไม่มีความแตกต่างกัน แต่อะไหล่ของ TOYOTA นั้นจะมีราคาที่ถูกกว่ายี่ห้ออื่นๆ ซึ่งเป็นจุดที่ได้เปรียบกว่ารถยนต์ยี่ห้ออื่นๆ
รูปแบบสินค้า - รถยนต์ TOYOTA นี้ได้ออกแบบใหม่ให้รูปร่างดูทันสมัยมากขึ้นกว่ารุ่นก่อน ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า และด้วยรูปลักษณ์ที่ดูแปลกตาออกไปก็ได้ช่วยสร้างการจดจำในตัวสินค้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งทางด้านคู่แข่งก็ได้ผลิตรถยนต์ที่มีรูปลักษณ์ที่ดูทันสมัยออกมาแข่งขันด้วยเช่นกัน
ความสามรถในการอัพเกรด - ในการเพิ่มประสิทธิภาพของรถยนต์นั้นก็สามารถทำได้อย่างกว้างขว้าง มีอะไหล่ที่รองรับความต้องการในการปรับแต่งรถยนต์มากมาย ซึ่งการเพิ่มประสิทธิภาพของรถยนต์นั้นจะช่วยทำให้รถยนต์นั้นมีสมรรถนะดีขึ้นอีกด้วย
ความช่วยเหลือทางเทคนิค - การใช้งานของสินค้านั้นไม่ยากเพราะด้วยระบบเกียร์ออโต้ที่นิยมใช้กันในสมัยนี้ ทำให้การขับขี่รถยนต์เป็นไปได้อย่างไม่ยากลำบาก และทางด้านศูนย์บริการก็มีกระจายอยู่ทั่วไปสามารถหาได้ง่ายและมีจำนวนมาก
การติดตั้ง - ในส่วนของการติดตั้งนั้น ได้ทำการประกอบมาตั้งแต่ศูนย์ผลิตแล้ว ซึ่งพร้อมให้ลูกค้าได้ใช้งานได้โดยทันทีหลังจากที่ซื้อสินค้าแล้ว แต่ในส่วนของการติดตั้งอะไหล่ที่ได้ปรับเปลี่ยนภายหลังนั้น จะต้องทำโดยช่างผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

Price- ทางด้านราคามีราคาที่ไม่สูงมากซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับคู่แข่งแล้วจะมีราคาที่ต่ำกว่า ซึ่งจะช่วยทำให้กลุ่มเป้าหมายนั้นมีการตัดสินใจที่ง่ายขึ้นด้วย เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายนั้นให้ความสำคัญกับราคาด้วย และด้วยราคาของสินค้าในขณะนี้นั้นเหมาะสมกับ Product Life Cycle ในขณะนี้
การตั้งราคาสินค้า - ตั้งตาม Product Line
Place - การจัดจำหน่ายสินค้านั้นก็จะมีจำหน่ายทั่วไปตามโชว์รูมของ TOYOTA ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็ได้มีโชว์รูมเกิดขึ้นมามากมายเพื่อทำให้ลูกค้าเกิดความสะดวกสบายมากที่สุดในการที่จะไปติดต่อสอบถามหรือบริโภคสินค้า มีการใช้กลยุทธ์เพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาติดต่อหาข้อมูลที่โชว์รูมโดยใช้โฆษณาเป็นสื่อในการส่งข่าวสาร
รูปแบบการจัดจำหน่ายนั้น ก็จะเริ่มต้นที่ผู้ผลิตซึ่งผลิตมาจากโรงงาน แล้วจากนั้นจะส่งสินค้ามาตามตัวแทนจำหน่ายต่างๆ(Show Room) จากนั้นก็ติดต่อซื้อขายกับผู้บริโภค
Promotion - สื่อที่ใช้ในการโฆษณาเป็นสื่อหลักคือโทรทัศน์ เพราะว่าสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย และสามารถกระตุ้นความสนใจและความต้องการได้ด้วยการใช้ภาพและเสียง และสื่อเสริมจะเป็นพวกนิตยสารต่าง ซึ่งภายในนิตนสารนั้นจะให้รายละเอียดต่างๆไว้มากกว่าในโทรทัศน์เพื่อที่จะให้กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ข่าวสารอย่างเพียงพอแก่ความต้องการ
สื่อที่น่าจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีที่สุด – สื่อโทรทัศน์เพราะว่าในยุคปัจจุบันนี้โทรทัศน์นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นของทุกๆครอบครัว และการใช้สื่อประเภทนี้เข้าไปทำการโฆษณาจะช่วยได้มาในเรื่องของการสร้างภาพลักษณ์ การทำให้เกิดการจดจำ
จุดขายที่ใช้ในปัจจุบัน – จุดขายที่ใช้ในปัจจุบันนี้จะเน้นในเรื่องของการออกแบบรูปทรงของตัวรถยนต์ที่ดูทันสมัยมากขึ้น ซึ่งในจุดเด่นตรงนี้ก็ยังสามารถนำไปใช้เป็นจุดขายต่อๆไปในอนาคตได้ เพราะ ส่วนมากแล้วผู้บริโภคค่อนข้างที่จะให้ความสำคัญต่อรูปร่างของผลิตภัณฑ์ประเภทรถยนต์
จุดเด่นของสินค้า – สำหรับสิ่งที่โดดเด่นของสินค้านั้นเป็นเรื่องของรูปลักษณ์ที่ดูทันสมัยมากขึ้น ซึ่งเหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบัน และในการที่จะใช้จุดเด่นนี้มาใช้ในการโฆษณานั้น เราก็จำเป็นที่จะต้องทำโฆษณาโดยดึงเอาการออกแบบ หรือทำให้ผู้บริโภคได้เห็นรูปร่างของรถยนต์ที่สวยงาม นั้นเพื่อที่จะช่วยในการสร้างภาพลักษณ์และการจดจำที่ดีขึ้น
Image ของสินค้า – ภาพลักษณ์ของสินค้า เป็นสินค้าที่ได้รับความน่าเชื่อถือ ได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภค เพราะตราสินค้านั้นเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง จึงทำให้เกิดความจดจำ และยอมรับในตัวผลิตภัณฑ์ไปด้วย
Positioning ของสินค้า – แนวคิดในการบริการที่ "พร้อมจะมอบความพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า โดยประกันการสร้างคุณภาพในทุกกระบวนการ" ผสานกับความมุ่งมั่นของเหล่าพนักงานโตโยต้า คือเบื้องหลังความสำเร็จของโตโยต้า ที่ผลักดันให้บริษัทฯ ครองความเป็นอันดับหนึ่งของผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง

ประวัติ Toyota

โตโยต้า TOYOTAสัญลักษณ์ของโตโยต้า เป็นรูป ELLIPSE หรือวงรี 2 วง วางซ้อนกันเป็นรูปตัว T และล้อมรอบด้วยรูปวงรีขนาดใหญ่อีก 1 วง เป็นสัญลักษณ์ที่โตโยต้าเพิ่งออกแบบใหม่ขึ้น และเพิ่งนำมาใช้เป็นครั้งแรกเมื่อปลายปี 2532 นี่เอง รถโตโยต้าแบบแรกที่ติดสัญลักษณ์ตัวนี้คือ รถโตโยต้าเซลซิเออร์ (TOYOTA CELSIOR) ซึ่งเพิ่งออกตลาดในญี่ปุ่นเมื่อปลายปีนั้นเช่นกัน โตโยต้าอธิบายความหมายของตัวนี้ว่า รูปวงรีเป็นรูปทรงทางเรขาคณิตซึ่งมีจุดศูนย์กลางหรือจุดโฟกัส 2 จุด โตโยต้านำรูปนี้มาใช้ เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของการผนึกหัวใจ 2 ดวง เข้าด้วยกัน คือ รูปหัวใจของผู้ใช้รถ กับหัวใจของตัวสินค้า ส่วนพื้นที่ว่างซึ่งบรรจุอยู่ภายในวงรีวงใหญ่ หมายถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งสามารถขยายตัวออกไปโดยไม่มีขอบเขต รถยนต์โตโยต้า เป็นผลผลิตของโตโยต้า มอเตอร์ คอร์พอเรชั่น (TOYOTA MOTOR CORPORATION) ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ผลิตรยนต์รายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นและใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากเจเนอรัล มอเตอร์ส คอร์พอเรชัน (GENERAL MOTORNCORPATION) และฟอร์มอเตอร์คัมปะนี (FORD MOTOR COMPANY) แห่งสหรัฐอเมริกาประวัติความเป็นมาของรถยนต์โตโยต้า สามารถย้อนหลังไปได้จนถึงปี 2472 อันเป็นปีที่นาย ซากิชิ โตโยด้า (SAKICH TOYODA) เจ้าของโรงงานผลิตเครื่องทอผ้า TOYODA AUTOMATIC LOOM WORKS ได้ขายสิทธิบัตรการผลิตเครื่องทอผ้าให้แก่บริษัท PLATT BROS แห่งประเทศอังกฤษในราคา 100,000) ปอนด์ และมอบให้ลูกชายของเขาคือ มร. คิชิดร โตโยด้า (MR.KICHIRO TOYODA) เป็นทุนรอนในการทดลองผลิตรถยนต์ รถยนต์แบบแรกที่ผลิตจากโรงงานเครื่องทอผ้าของโตโยต้าและนำออกจำหน่ายในตลาด เป็นรถยนต์นั่ง 4 ประตู เครื่องยนต์ 6 สูบ 65 แรงม้า ใช้แชสซีส์และระบบส่งกำลังของเซฟโรเลต์แห่งสหรัฐอเมริกา ออกสู่ตลาดเป็นครั้งแรกในปี 2479 มีอัตราการผลิต 5 คัน ต่อวัน หนึ่งปีหลังจากโตโยด้าจึงเริ่มการผลิตรถยนต์อย่างจริง ๆ จัง ๆ โดยก่อตั้งบริษัท TOYOTA MOTOR CO., LTD. ขึ้นด้วยเงินทุนประมาณ 3.5 ล้านเหรัยญสหรัฐและประกอบกิจการผลิตรถยนต์สืบต่อกันมาตราบจนปัจจุบันชื่อบริษัท: โตโยต้า มอเตอร์ คอร์พอเรชั่น(TOYOTA MOTOR CORPORATION)ก่อตั้ง: พ.ศ. 2480ประธานกรรมการ: มร.อีจี โตโยด้า(MR. EIJI TOYODA) ประธานบริหาร: มร. โชอิชิโร โตโยด้า(MR.SHOICHIRO TOYODA)สำนักงานใหญ่: 1, TOYOTA-CHO, TOYOTA CITY, AICHI PREFECTURE 471, JAPANโรงงานในญี่ปุ่น: 11 โรงงานโรงงานในต่างประเทศ: ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ไทย อินเดีย บราซิล เปรู ทรินิแดดและโตมาโก เวเนซูเอลา อุรุกวัย สหรัฐอเมริกา แคนาดา โปรตุเกศ แอฟริกาใต้ ฉซมเบีย คีนยา ซิมับเว บังคลาเทศ เอคัวดอร์ ไต้หวันเงินทุนจดทะเบียน: 133,200 ล้านเยน ธันวาคม 2530)จำนวนพนักงาน: 64,000โตโยต้า ล้านเยน (ธันวาคม 2530)เว็บไซต์: www.toyota.com